นักวิทยาศาสตร์ ได้มีการเริ่มต้นประเมินผลกระทบของการใช้โซเชียลมีเดียต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิต โดย เทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือและโซเชียลมีเดีย ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ชีวิตของเรา ในรูปแบบของบล็อกบริการ เช่น Facebook และ Twitter ซึ่งได้กลายเป็นที่นิยมอย่างมากทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ Facebook เป็นเครือข่ายทางสังคมที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน มีผู้ใช้งานมากกว่าหนึ่งพันล้านคน และคาดว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา เครือข่ายเหล่านี้มีผลกระทบอย่างมากต่อชีวิตสมัยใหม่ อีกทั้งยังเปลี่ยนการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งความพร้อมใช้งาน 24/7 บนโซเชียลมีเดีย จะเพิ่มความเสี่ยงในการพัฒนาภาวะซึมเศร้า และความวิตกกังวล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยรุ่น นอกจากนี้ยังสามารถทำให้คุณภาพการนอนหลับลดลง
การนอนหลับในคนยุคดิจิทัล
การศึกษาพบว่า ในช่วงสิบปีที่ผ่าน เยาวชนบริโภคสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อสังคมออนไลน์สูงขึ้นซึ่ง สัมพันธ์กับความผิดปกติของการนอน พบปัญหาการนอนหลับไม่เพียงพอมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มวัยรุ่นที่ต้องการการนอนหลับ 8 - 10 ช.ม. ต่อคืน แต่ส่วนใหญ่พบว่า นอนเพียง 7 ช.ม.หรือน้อยกว่า การนอนหลับไม่เพียงพอเป็นประจำ จะส่งผลเสียกับสุขภาพและจิตใจอย่างมาก โดยส่งผลต่อ ความสามารถในการจำลดลง ผลการเรียนที่แย่ลง ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ความรู้สึกเฉี่อยชา ไปจนถึงการง่วงนอนในขณะขับรถ
Facebook กับ คุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี และผลการเรียน Facebook มีข้อดีหลายประการบนพื้นฐานของการเข้าใช้ฟรี การอำนวยความสะดวกด้านการสื่อสารรวมถึงการแชร์ข้อมูลส่วนบุคคล การใช้งานบางอย่างอาจส่งผลเสีย เช่น การใช้งานผิดประเภท การพึ่งพาสื่อสังคมออนไลน์มากเกินไป ไปจนถึงการเสพติดสื่อออนไลน์ อย่างไรก็ตามการใช้งานที่มากเกินไปจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและคุณภาพการนอนหลับ โดยมีการศึกษาข้อมูลพบว่า นักเรียนที่เล่น Facebook จะมีปัญหาเรื่องคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี และส่งผลไปถึงการหลับในห้องเรียน การละเลยการร่วมกิจกรรมในห้องเรียน ความสนใจการเรียนที่ลดลง และผลการเรียนที่แย่ลง
โซเชียลมีเดียและภาวะซึมเศร้า ด้วยการเพิ่มขึ้นของเครือข่ายทางสังคม เด็กและวัยรุ่นใช้เวลากับหน้าจอเพิ่มขึ้นอย่างมาก จึงลดการสื่อสารระหว่างบุคคลทั้งในครอบครัวและบุคคลที่แวดล้อมในสังคม แม้ว่าเครือข่ายสังคมออนไลน์จะอนุญาตให้บุคคลอื่นโต้ตอบกันในกลุ่มใหญ่ ๆ แต่การโต้ตอบเหล่านี้จะเป็นเพียงผิวเผิน และไม่สามารถแทนที่การสื่อสารแบบตัวต่อตัวในชีวิตประจำวันได้อย่างเพียงพอ จึงอาจนำไปสู่ความเหงาและภาวะซึมเศร้า
การใช้โซเชียลมีเดียบ่อยๆ ถือเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมและสุขภาพจิตบางอย่าง มีความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายสังคมออนไลน์กับภาวะซึมเศร้า อาทิ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองต่ำ ทักษะความอดทนอดกลั้นลดลง มีการศึกษารายงานเพิ่มเติมว่าการใช้งาน Facebook ทำให้ มีรู้สึกว่า ผู้ใช้รายอื่นมีความสุขมากขึ้น และรู้สึกว่า "ชีวิตไม่ยุติธรรม" ซึ่งจะก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าขึ้นได้
เคล็ดลับสำหรับการนอนหลับที่ดีขึ้น ► ชาร์จโทรศัพท์มือถือนอกห้องนอน เพื่อตัดเสียงรบกวนในตอนกลางคืน ► หยุดใช้สื่อสังคมออนไลน์ อย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนนอน ► แทนที่เวลานี้ด้วยกิจกรรมผ่อนคลาย เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง ► ถ้าตื่นขึ้นตอนกลางคืน อย่าออนไลน์และ ไม่เข้าไปอ่าน อัพเดทข่าวสารในโซเชียลมีเดีย
Comments