top of page

หยินกับหยาง – มุมมองทางการแพทย์แผนจีนเกี่ยวกับการนอนหลับและการรักษาอาการนอนไม่หลับ

กันยายน 2566

โดย ดร. Zach Pearl เจ้าหน้าที่ Circadin.com


ชาวจีนโบราณเชื่อว่า “การนอนหลับเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาสุขภาพ” ดังสุภาษิตจีนโบราณที่กล่าวไว้ว่า “การส่งเสริมสุขภาพด้วยยาไม่ดีเท่าการส่งเสริมสุขภาพด้วยอาหาร แต่การส่งเสริมสุขภาพด้วยการนอนหลับเป็นการรักษาที่ดีที่สุด”


การแพทย์แผนจีนถือเป็นหนึ่งในศาสตร์การรักษาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ปัจจุบันมีนักวิจัยกลับมาให้ความสนใจศึกษาค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับการแพทย์แผนจีนอีกครั้ง ทั้งนี้ การแพทย์แผนจีน (Traditional Chinese Medicine, TCM) มีการรักษาหลากหลายแขนง ได้แก่ ฝังเข็ม, ยาสมุนไพร, โภชนบำบัด, นวดแผนจีน (เช่น ทุยหนา) และบริหารกายจิตแบบชี่กง


ในทฤษฎีการแพทย์แผนจีน เวลากลางคืน คือ “หยิน” ในขณะที่เวลากลางวัน คือ “หยาง” นั่นหมายความว่า กิจกรรมที่ควรปฏิบัติในเวลากลางวัน ได้แก่ การทำงาน, การรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย เป็นต้น ในทางกลับกัน กิจกรรมที่ควรปฏิบัติในเวลากลางคืน ได้แก่ การผ่อนคลาย, ระบบย่อยอาหาร และการนอนหลับ เป็นต้น


เช่นเดียวกันกับแนวคิดเรื่องนาฬิกาชีวภาพ (circadian rhythms) การแพทย์แผนจีนได้นำทฤษฎีการทำงานของร่างกายตามช่วงเวลากลางวันและกลางคืนมาใช้ควบคู่กับการรักษา ในแต่ละช่วงเวลา ระบบอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายจะทำงานหนักแตกต่างกัน สามารถแบ่งออกเป็นทุก 2 ชั่วโมง ดังแสดงในรูปที่ 1


รูปที่ 1 การทำงานของอวัยวะตามช่วงเวลาต่าง ๆ ในแต่ละวัน


กล่าวคือ ระบบย่อยอาหาร (ม้าม และกระเพาะอาหาร) จะทำงานหนักที่สุดในช่วงเช้า ดังนั้นการแพทย์แผนจีนจึงให้ความสำคัญกับการรับประทานอาหารมื้อเช้ามากที่สุด เพื่อเพิ่มพลังงาน “ชี่” (Qi หรือ Ch’i) ในการทำกิจกรรมอย่างประสิทธิภาพให้ได้ตลอดวัน


ในทำนองเดียวกัน อวัยวะปอด, ลำไส้ใหญ่ และตับ/ถุงน้ำดี เป็นอวัยวะที่ทำงานหนักเวลากลางคืน ทั้งนี้ ทางการแพทย์แผนตะวันตก เชื่อว่าอวัยวะเหล่านี้เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่หลักในการขจัดสารพิษ

หากมีการนอนหลับอย่างเพียงพอ จะสามารถช่วยชะล้างร่างกายและกลับมาสู่สมดุลอีกครั้ง

นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าการนอนจะช่วยให้ตับที่ทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนพลังงานชี่ของร่างกายตลอดทั้งวัน ได้กลับมาพักผ่อน กักเก็บเลือด และเสริมความเป็น “หยิน” สู่ร่างกายได้อีกครั้ง


การแพทย์แผนจีนให้ความสนใจเกี่ยวกับการนอน จากการแบ่งปัญหาการนอนหลับออกเป็นการเข้านอนหลับยาก, การนอนหลับไม่ต่อเนื่อง (การนอนหลับตื้น) และการนอนหลับที่ถูกรบกวนด้วยการฝัน ซึ่งล้วนส่งผลต่อการทำงานที่ผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ ดังนั้น การรักษาแบบแพทย์แผนจีนจึงมีการรวบรวมข้อมูลรูปแบบปัญหาการนอนหลับ เพื่อนำมาพิจารณาประกอบการรักษาผู้ป่วยอย่างเหมาะสม ร่วมกับการฝังเข็ม, ยาสมุนไพร, โภชนบำบัด หรือใช้วิธีเหล่านี้รวมกัน


โดยสรุป เช่นเดียวกันกับการรักษาแพทย์แผนตะวันตก การนอนที่ดีควรพยายามขจัดความเครียดก่อนจะเข้านอน หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ก่อนนอน หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายใกล้เวลานอนหลับ และหลีกเลี่ยงการดื่มคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ก่อนเวลานอน รวมถึงควรเข้านอนให้เป็นเวลาภายในเวลา 22.00 น.


bottom of page